เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดแมลง

เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดแมลง

      ยุงลายเป็นแมลงบินที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย การกำจัดยุงลาย ที่ประหยัด มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย คือการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ซึ่งเป็นการกำจัดลูกน้ำ ยุงลายอย่างถาวร แต่ในความเป็นจริงการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นเป็นประจำ วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้นจะต้องลดการแพร่ กระจายของโรคให้ได้เร็วที่สุด คือ การควบคุมยุงตัวเต็มวัย โดยการใช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดถูกตัวตาย (สัมผัส) พ่นด้วยเครื่องพ่นสารเคมีให้สัมผัสตัวยุงลาย เทคนิคการพ่นสารเคมีให้สัมผัสแมลงบินที่ใช้ในปัจจุบัน

      องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้เทคนิคการพ่นแบบฝอยละเอียด ขนาดเม็ดน้ำยาที่พ่นควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 5 µm-27 µm จึงจะมี ประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดแมลงบิน เพราะขนาดเม็ดน้ำยานี้จะลอยฟุ้งคลุมพื้นที่ได้นาน และไปได้ไกลตามกระแสลมธรรมชาติ ส่วนเม็ดน้ำยาที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่านี้จะไม่มีผลต่อแมลงบินใน พื้นที่ เพราะเม็ดน้ำยาจะลอยหายไปหรือตกลงดินเร็วเกินไปหากพ่นในที่โล่งหรือด้านใน อาคาร เม็ดน้ำยาที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 µm จะตกลงดินภายในเวลาสั้น ๆ เมื่อหมดแรงส่งจากเครื่องพ่นนั้น ๆ จึงไม่มีผลต่อแมลงบินเลย
      องค์การอนามัยโลกกำหนดวิธีการพ่นแบบฝอยละเอียดว่าควรมีขนาดเม็ดน้ำยาเล็กกว่า 50 µm เรียก aerosol droplet และวิธีการพ่นแบบฝอยละอองควรมีขนาดเม็ดน้ำยา 50 – 100 µm เรียก mist droplet ฉะนั้นในการควบคุมยุงลายด้วยสารเคมีจึงควรใช้เครื่องพ่นสารเคมีที่อาจเรียก aerosol generator จึงจะได้ผลดีที่สุด เครื่องพ่นแบบ aerosol generator บางครั้งอาจเรียกว่า fogging machine หรือ fog generator หรือ เครื่องพ่นละอองฝอย และหากสารเคมีที่ใช้พ่นเป็นแบบความเข้มข้นสูง ใช้ปริมาณน้อย แต่คลุมพื้นที่ได้มาก ก็อาจมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ULV Technique
เครื่อง aerosol หรือ fog generator อาจเรียกชื่อตามเทคนิคการพ่นที่ใช้กำลังงาน หรือชนิดของพลังงานพ่นสารเคมีออกเป็น 2 แบบ ที่นิยมผลิตในปัจจุบัน คือ

      Cold fog generator หรือ เครื่องพ่นละอองฝอย เป็นเครื่องพ่นที่ใช้พลังงานกล แรงลม แรงเหวี่ยง สลัดน้ำยาให้แตกตัวออกเป็นเม็ดเล็ก ๆ ขนาดที่เล็กกว่า 50 µm และชนิดสารเคมีที่ใช้พ่นมักเป็นแบบความเข้มข้นสูง
Thermal fog generator หรือ เครื่องพ่นหมอกควัน เป็นเครื่องพ่นที่ใช้ความร้อน ช่วยในการแตกตัวของน้ำยาออกเป็นละอองเม็ดเล็ก ๆ อุณหภูมิที่ใช้สูงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของสารตัวทำละลายที่มีจุดเดือด หรือจุดระเหิด (Boiling Point or Evaporating Point) ซึ่งมักนิยมใช้สารตัวทำละลายที่มีอุณหภูมิสูงไป 100 องศาเซลเซียส เพราะถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะมีผลในการทำลายคุณภาพของสารเคมี ซึ่งมักจะมีความเข้มข้นต่ำ

      เครื่องพ่นอีกประเภทที่มักใช้ทั้งด้านการเกษตรและสาธารณสุข คือ Mist blower หรือ Mist generator หรือ เครื่องพ่นฝอยละออง เป็นเครื่องพ่นสารเคมีอีกประเภทที่มักใช้ในงาน สาธารณสุขและเกษตร แต่ขนาดเม็ดน้ำยาที่ผลิตได้จะมีขนาด 20 µm – 100 µm จำนวนเม็ดน้ำยาส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่กว่า 50 µm จึงไม่สามารถลอยฟุ้งอยู่ในบรรยากาศได้นานพอจะกำจัดแมลงบิน เครื่องพ่น Mist generator มักใช้ในการพ่นสารเคมีที่มีความเข้มข้นปานกลางให้เม็ดน้ำยาฟุ้งตกคลุมพื้น ผิวของบริเวณที่พ่นเพื่อกำจัดแมลงคลานมากกว่า และสารเคมีที่ใช้ก็ควรใช้สารเคมีแบบถูกตัวตายแต่ให้มีฤทธิ์ตกค้างนาน เช่น การพ่นสารเคมีกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แมลงวัน เป็นต้น

      จากข้อมูลข้างต้นอาจสรุปว่า เครื่องพ่นแต่ละชนิดมีคุณลักษณะและวิธีการใช้งานต่างกันไป ผู้ใช้ควรคำนึงถึงความต้องการใช้งานเป็นสำคัญ เครื่องพ่นที่มีมาตรฐานสูงย่อมมีราคาสูงตามไปด้วย เครื่องพ่นมาตรฐานตามลักษณะการใช้งานที่สำคัญนั้น ควรมีลักษณะดังนี้

      1. เครื่องพ่นฝอยละออง (Mist blower) เครื่องพ่นนี้จะพ่นเม็ดน้ำยาขนาด 20 – 100 µm และมีค่า VMD = 57 µm หมายถึงร้อยละ 85 มีขนาดเม็ดน้ำยาเล็กกว่า 57 µm แต่จะพบว่าขนาดเม็ดน้ำยาที่สามารถลอยฟุ้งในบรรยากาศได้ดีและนาน (aerosol droplet ที่มีขนาดเล็กกว่า 50 µm) จะมีเพียงร้อยละ 35 เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 65 ที่มีขนาดเม็ดน้ำยาใหญ่กว่า 50 µm จะตกลงสู่พื้นดินในระยะเวลาที่สั้นมาก จึงสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำยาได้เพียง 35 % สำหรับแมลงบิน แต่ในทางตรงกันข้าม หากต้องการพ่นสารเคมีกำจัดแมลงบินบริเวณแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น แมลงวันบริเวณกองขยะ แมลงสาบ เครื่องพ่นนี้กลับน่าจะมีประโยชน์กว่าเครื่องฝอยละเอียด ULV แต่หากใช้แทนเครื่อง ULV อาจมีปัญหาเรื่องความสิ้นเปลืองน้ำยาสูงและเม็ดน้ำยาตกลงในบริเวณนั้น ไม่ลอยฟุ้งในบรรยากาศ
      2. เครื่องพ่นละอองฝอย ULV (ULV cold fog generator) สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ขนาดเม็ดน้ำยาที่เครื่องผลิตได้ ควรมีขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 60 µm ขนาดเม็ดน้ำยาที่ดีที่สุดควรเป็น 5 µm – 27 µm เพราะฉะนั้นค่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกใช้บอก คุณภาพเครื่องว่าผลิตเม็ดน้ำยาที่มีคุณภาพสูงสุด คือ ค่า VMD (Volume Median Diameter) เท่ากับ 27 µm หรืออาจบอกว่าจำนวนเม็ดน้ำยาไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 มีขนาดเล็กกว่า 27 µm ซึ่งอาจหมายถึง กว่าร้อยละ 99 ของละอองน้ำยาที่มีขนาดฝอยละเอียด aerosol (ไม่เกิน 50 µm) จะลอยฟุ้งในบรรยากาศได้นานและใช้ประโยชน์ของละอองน้ำยาทุกเม็ดในการกำจัดยุงบิน

เครื่องพ่นละอองฝอย ไอจีบา พอร์ต 423 (IGEBA PORT 423)

      3. เครื่องพ่นหมอกควัน (Thermal fog generator) เครื่องพ่นหมอกควันแบบใช้ความร้อนช่วยในการแตกตัวของสารเคมีรูปของเหลวเป็นละอองเล็กขนาด 0.1 µm – 60 µm ขนาดเฉลี่ยของเม็ดน้ำยา (VMD) ขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อนและปริมาณสารเคมีที่พ่น ถ้าความร้อนสูงหรือปริมาณสารเคมีที่พ่นออกมาน้อย ขนาดเม็ดน้ำยา ก็เล็กกว่าปริมาณสารเคมีที่พ่นมากกว่าในขนาดความร้อนเดียวกัน ปัญหาสำคัญของเครื่องพ่นหมอกควันแบบใช้ความร้อนคือการสลายตัวของสารเคมี เนื่องจากความร้อน ซึ่งอาจเนื่องมาจากคุณสมบัติของสารเคมีเอง หรืออาจเนื่องมาจากเครื่องพ่นเคมีที่ให้ความร้อนสูงเกินไป โดยปกติเครื่องพ่นหมอกควันที่มีคุณภาพดีควรสามารถควบคุมอุณหภูมิ ณ จุดหรือบริเวณที่น้ำยาสัมผัสความร้อนและแตกตัวให้บริเวณนี้มีอุณหภูมิระดับ ที่ไม่ทำลายคุณภาพของสารเคมี หรือมีอุณหภูมิบริเวณนี้ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจทดสอบได้โดยการใช้น้ำแทนสารเคมี หากเครื่องพ่นใดพ่นน้ำออกเป็นละอองโดยสมบูรณ์หรือเป็นไอ แสดงว่าอุณหภูมิจุดนั้นสูงเกินจุดน้ำเดือด (100 องศาเซลเซียส) โอกาสทำลายคุณภาพสารเคมีที่ถูกทำลายได้ด้วยความร้อนย่อมมีอยู่ แต่จะมากน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและคุณสมบัติของสารเคมีนั้น และสารเคมีที่แนะนำให้ใช้ในเครื่องพ่นหมอกควัน จะมีความเข้มข้นต่ำมาก ๆ จึงย่อมมีโอกาสลดคุณภาพการพ่นสารเคมีลงได้มาก ฉะนั้น การใช้เครื่องพ่นหมอกควันที่มีคุณภาพต่ำก็ลดประสิทธิภาพการพ่นหมอกควันลง

เครื่องพ่นหมอกควัน ไอจีบา ทีเอฟ 35 (IGEBA TF 35

เหตุผลในการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะเครื่องพ่นละอองฝอย ULV
      1. น้ำหนักเครื่องเปล่าไม่เกิน 13 กิโลกรัม เมื่อรวมน้ำหนักสารเคมีและน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วน้ำหนักไม่ควรเกิน 18 กิโลกรัม เพราะผู้ใช้งานเป็นอาสาสมัครหรือเจ้าหน้าที่ ไม่คุ้นกับการแบกน้ำหนักและเครื่องสั่น / ร้อน และต้องใช้เวลาในการพ่นต่อครั้งมากกว่า 30 นาที
      2. ค่า VMD 30 µm ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกและใช้ประโยชน์จากเม็ดน้ำยา ให้สูงสุด
      3. ระยะพ่นไม่น้อยกว่า 8 เมตร เพราะการพ่นวิธีนี้ยืนใกล้หรือชิดบ้าน พ่นจากภายนอกเข้าสู่ในบ้าน ระยะห่าง 1 – 2 เมตรพ่นให้เข้าสู่บริเวณกลางบ้าน และให้น้ำยาลอยฟุ้งอยู่ในบ้านได้ทั่วถึง
      4. เครื่องยนต์ไม่ต่ำกว่า 1.5 แรงม้า เป็นขนาดเครื่องยนต์ที่ให้กำลังน้อยสุด แต่มี ประสิทธิภาพและประหยัดและใช้งานได้นานในรอบเครื่องยนต์ที่สูง ๆ และไม่ควรใหญ่เกินไปเพราะจะมีน้ำหนักมาก
      5. เครื่องคอมเพรสเซอร์เป็นแบบโรตารี่ ระบบพัดลม ต้องการใบพัดลมที่แข็งแรงทนทาน ในการใช้งาน และในการใช้งานระบบโรตารี่จะสามารถอัดลมได้ดีกว่าใบพัดทั่วไป เนื่องจากใบพัดลมอาจบิดงอไม่สามารถอัดลมได้ปริมาณมากพอที่จะให้ลมมีความเร็ว พอตีน้ำยาให้แตกตัว
      6. อัตราพ่น 1 – 6 ลิตร / ชม. ระบบ ULV มีมาตรฐานการพ่น 0.5 – 1.0 ลิตรต่อพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร (ประมาณ 100 หลังคาเรือน) ซึ่งจะใช้เวลาทำงานประมาณ 100 นาที
      7. ถังน้ำยาคงทน ความจุ 2.5 – 3.5 ลิตร พอต่อการใช้งานตามเทคนิคการพ่น ULV ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในถังเชื้อเพลิงที่ทำงานได้ไม่ เกิน 1 ชั่วโมง แล้วพักเครื่อง

      เครื่องพ่นหมอกควัน สาระสำคัญ – หัวควบคุมอัตราการไหล ต้องคงที่เพื่อควบคุมอัตราการไหลของสารเคมีให้เป็นไปตามอัตราการใช้ของสาร เคมีต่อพื้นที่ เป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาการปรับอัตราการไหลที่อาจน้อยหรือสูงเกินไปและผู้ควบ คุมเป็นผู้กำหนดอัตราการใช้ตามขนาดหัวควบคุมอัตราการไหล ซึ่งหากติดตั้งภายนอกจะสะดวกในการควบคุมกำกับ และหัวพ่นแต่ละขนาดเหมาะกับสารเคมีสูตรน้ำมันหรือสูตรน้ำไม่เหมือนกัน – ปลายท่อต้องมีท่อสวม เพราะเครื่องพ่นที่กรมควบคุมโรคติดต่อใช้อยู่เป็นเครื่องที่ควบคุมอุณหภูมิ ให้ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียสเมื่อจะพ่นสารเคมีสูตรน้ำมัน หากต่อไปจะใช้สารเคมีสูตรน้ำ จะต้องใช้หัวพิเศษจึงจะพ่นสารเคมีสูตรน้ำได้ เพราะเครื่องพ่นที่ใช้ปกติจะไม่สามารถพ่นสารเคมีสูตรผสมน้ำได้
เอกสารอ้างอิง : ตารางการตรวจหาค่า VMD จากเอกสารขององค์การอนามัยโลก ‘Equipment for vector control’

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *